ชำระเงินสด ( ค่าหุ้น เงินกู้ )
Posted: ธิติพงศ์ เพชรวิชิตฐิติกุล Date: 2012-08-23 10:27:45
   
  ๒.เปิดให้บริการรับฝากเงิน ชำระเงินสด ( ค่าหุ้น เงินกู้ ) เฉพาะเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. เพื่อติดต่อข้อมูลธนาคารและปิดระบบโปรแกรมในแต่ละวัน กรณีชำระด้วยเช็ค ( สั่งจ่ายสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจนครบาล จำกัด ) กรุณานำส่งสหกรณ์ก่อนเวลา ๑๓.๐๐ น. เพื่อฝากเข้าธนาคารภายในกำหนด ๓.สมาชิกสามารถชำระเงินสหกรณ์ผ่านบัญชีธนาคารทหารไทย สาขาพญาไท ชื่อบัญชี “สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจนครบาล จำกัด” เลขที่ ๐๐๓ ๒๙๐ ๐๐๒๙ แล้วส่งสำเนาใบนำฝากไปยังหมายเลขโทรสาร ๐๒ ๒๘๒๘๒๘ ๖ พร้อมระบุชื่อผู้ชำระเงินและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ มิฉะนั้นสหกรณ์จะไม่ทราบที่มายอดเงินโอนเข้าบัญชี อันอาจส่งผลต่อสิทธิในเงินดังกล่าว... แล้วที่ตอบว่า ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ ฉบับล่าสุดปี 53 ให้หักเงินเดือนสมาชิกชำระสหกรณ์ครับ คืออะไรครับ กรุณาอธิบายด้วยครับ ถามด้วยความไม่เข้าใจจริงๆครับ
 
 

   
 
 
ความคิดเห็นที่ 1  
โดย :ชลินทร์ กฤชกระพัน  2012-08-23 18:28:37
 
 
  สำหรับสมาชิกที่ต้องการฝากเงินบัญชีออมทรัพย์ ชำระหนี้พิเศษเพิ่มเติม (จากยอดส่งรายเดือน) หรือซื้อหุ้นกรณีพิเศษ กรณีที่สหกรณ์กำหนดครับ
 
   
 
 
ความคิดเห็นที่ 2  
โดย :ชลินทร์ กฤชกระพัน  2012-08-23 18:31:29
 
 
  เพื่อโปรดศึกษาเพิ่มเติม พรบ,สหกรณ์ (ฉบับที่ 2) เนื่องจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2553 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 26 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ในพระราชบัญญัติสหกรณ์ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2553 มีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติใหม่ ซึ่งแต่เดิมองค์ประกอบ ส่วนใหญ่จะเป็นอธิบดีกรมในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปลี่ยนเป็นปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นต้น ซึ่งเป็นที่หวังได้ว่าการที่กำหนดให้ปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติจะช่วยให้การขับเคลื่อน การพัฒนาและการควบคุมดูแล กระบวนการสหกรณ์เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงยิ่งขึ้น นอกจากการปรับปรุง องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติใหม่แล้วพระราชบัญญัติสหกรณ์ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2553 ยังมีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอีก 2 คณะ คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ และคณะกรรมการดำเนินการสันติบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยด้วย ในส่วนของการปรับปรุงแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกสหกรณ์โดยตรง มีอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่ ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องหรืออายัดค่าหุ้นสมาชิก โดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2553 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ ในระหว่างสมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องหรืออายัดค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้น และเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกยังสิ้นสุดลง สหกรณ์มีสิทธินำเงินตามมูลค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่มาหักกลบลบหนี้ที่สมาชิกผูกพันต้องชำระหนี้แก่สหกรณ์ได้ และให้สหกรณ์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษ เหนือเงินค่าหุ้นนั้น ” ส่วนเรื่องที่สอง เป็นเรื่องการหักเงิน เพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันอื่นที่มีต่อสหกรณ์ โดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2553 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา 42/1 และมาตรา 42/2 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 “มาตรา 42/1 เมื่อสมาชิกได้ทำความยินยอมเป็นหนังสือไว้กับสหกรณ์ให้ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานของรัฐ หรือนายจ้างในสถานประกอบการ หรือหน่วยงานอื่นใดที่สมาชิกปฏิบัติหน้าที่อยู่หักเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดที่ถึงกำหนดจ่ายแก่สมาชิกนั้น เพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันอื่นที่มีอยู่ต่อสหกรณ์ให้แก่สหกรณ์ตามจำนวนที่สหกรณ์แจ้งไป จนกว่าหนี้หรือภาระผูกพันนั้นจะระงับสิ้นไป ให้หน่วยงานนั้นหักเงินดังกล่าว และส่งเงินที่หักไว้ให้แก่สหกรณ์โดยพลัน การแสดงความยินยอมตามวรรคหนึ่ง มิอาจถอนคืนได้ เว้นแต่สหกรณ์ให้ความยินยอม การหักเงินตามวรรคหนึ่ง ต้องหักให้สหกรณ์เป็นลำดับแรก ถัดจากหนี้ภาษีอากรและการหักเงินเข้ากองทุนที่สมาชิกต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
 
   
 
 
ความคิดเห็นที่ 3  
โดย :ธิติพงศ์ เพชรวิชิตฐิติกุล  2012-08-27 21:57:01
 
 
  "สำหรับฝากเงินบัญชีออมทรัพย์ ชำระหนี้พิเศษเพิ่มเติม (จากยอดส่งรายเดือน) หรือซื้อหุ้นกรณีพิเศษ" อ๋อ... อย่างนี้นี่เอง เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับ
 
 
   
 
    ร่วมแสดงความคิดเห็น
 
ทะเบียน:
รหัสผ่าน: